ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. พิไล พูลสวัสดิ์ (เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489) เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักอนุรักษ์ชาวไทย ที่มีผลงานวิจัยดีเยี่ยมด้านปักษีวิทยา (Ornithology) นิเวศวิทยาสัตว์ป่า (Wildlife Ecology) และปรสิตวิทยา (Parasitology: Avian diseases) เป็นผู้ที่มุ่งมั่นทำวิจัยระยะยาว เพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ทำกิจกรรมเผยเพื่อเผยแพร่ความรู้ในการอนุรักษ์นกเงือกและทรัพยากรธรรมชาติอย่างเข้มแข็ง จนได้รับการขนานนามว่า "มารดาแห่งนกเงือก (GREAT MOTHER OF THE HORNBILLS)ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อการคุ้มครอง-อนุรักษ์นกเงือกและธรรมชาติ จนได้เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลผู้ทรงเกียรติด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติระดับโลก พร้อมกันถึง 2 รางวัล เมื่อปี พ.ศ. 2549 ได้แก่รางวัล The 2006 ROLEX Awards for Enterprises จาก Rolex SA ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และ The 52nd Annual Chevron Conservation Awards จาก Chevron Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับ พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขาวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2550จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เป็นผู้แทนพระองค์
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าโครงการศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของนกเงือกระยะยาวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2521 และเมื่อ พ.ศ. 2546-ปัจจุบันเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยร่วมจากหลายสถาบันเพื่อศึกษาลักษณะพันธุกรรม ประชากร และสถานภาพของนกเงือกในพื้นที่ผืนป่าและหย่อมป่าในประเทศไทย (โครงการร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งประเทศไทย)โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ เป็นผู้ริเริ่มโครงการอุปการะครอบครัวนกเงือก ที่นำงานวิทยาศาสตร์มาเป็นสื่อกลางในการกระตุ้นให้คนเมืองเข้ามาสัมผัส และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก ซึ่งให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยด้านชีววิทยา-นิเวศวิทยาของนกเงือกและนิเวศวิทยาทั่วไป และสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ จัดตั้งศูนย์กลางประสานงานทางวิชาการ งานวิจัยและให้การฝึกอบรม จัดประชุมวิชาการเกี่ยวกับการวิจัยนกเงือกในระดับชาติและนานาชาติ ส่งเสริมนักวิจัยหลากหลายสาขาทั้งในและต่างประเทศ ให้ทำงานเชิงบูรณาการ โดยใช้นกเงือกเป็นสัตว์เป้าหมายในการวิจัย ซึ่งรูปแบบและผลการวิจัยสามารถประยุกต์ใช้ในการจัดการเพื่อการอนุรักษ์นกเงือก ซึ่งเป็น Umbrella และ Keystone species และใกล้สูญพันธุ์อย่างเหมาะสม จนทำให้เป็นโครงการวิจัยด้านอนุรักษ์สัตว์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติที่มีศักยภาพในการชี้นำสังคม เป็นที่ยอมรับจากคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ใช้เป็นต้นแบบในการจัดการอนุรักษ์ สัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อมในประเทศ เป็นผู้ริเริ่มปลุกจิตสำนึกของพรานล่านกเงือกและชาวบ้านให้หันมาเป็นผู้อนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า โดยใช้นกเงือกเป็นสื่อจนเกิดความร่วมมือระหว่างชุมชน โรงเรียน เยาวชน และนักวิจัย
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. พิไล พูลสวัสดิ์ มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ มีบทความที่กล่าวถึงงานวิจัยในวารสารทางวิชาการและนิตยสารชั้นนำ ภาพยนตร์สารคดีในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น